โลมาแม่น้ำแยงซีเกียง อีกหนึ่งสายพันธ์ุที่สูญพันธุ์เพราะมนุษย์
โลมาแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ และพบได้เฉพาะที่เท่านั้น นั้นคือจะอาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำที่เชื่อมกับแยงซี แต่ต้องมาสูญพันธุ์ เพราะน้ำมือมนุษย์ เหตุเพราะการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมได้สร้างมลพิษแก่แม่น้ำแยงซีเกียง ไม่ว่าจะเป็นสารพิษ หรือ มลภาวะทางเสียงที่เกิดจากการเดินเรืออันคับคั่งบนแม่น้ำแห่งนี้ ทำให้เกิดเสียงใต้น้ำ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของ โลมาชนิดนี้ เพราะ โลมาจะใช้คลื่นเสียงใต้น้ำในการสื่อสาร และตรวจจับวัตถุใต้น้ำ
โลมาแม่น้ำแยงซี หรือ โลมาแม่น้ำจีน หรือ โลมาครีบขาว ชาวจีนจะเรียกว่า ไป๋จี ได้รับขนานนามว่า “เทพธิดาแห่งแม่น้ำแยงซีเกียง” เป็นโลมาน้ำจืด อาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซีตอนกลางและตอนล่างของประเทศจีน รวมทั้งแม่น้ำเชียนถังที่อยู่ใกล้เคียง จัดเป็นโลมาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Lipotes และวงศ์ Lipotidae (แต่บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Iniidae) มีลำตัวสีขาว จะงอยปากแคบและยาว ครีบหลังต่ำ ตัวผู้ยาว 2.3 เมตร ตัวเมียยาว 2.5 เมตร น้ำหนักประมาณ 135-230 กิโลกรัม อายุยืนประมาณ 24 ปี

โดยข้อมูลการสำรวจในปี ค.ศ. 1970 พบว่ามีโลมาแม่น้ำแยงซีเกียงอยู่ในแม่น้ำแยงซีเกียงและในคลองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำนี้ประมาณ 400 ตัว แต่ในปี 2000+ กับพบเพียงแค่ 13 ตัวเท่านั้น สาเหตุหลักมาจากการล่าสัตว์น้ำในแม่น้ำแยงซีเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการเจริญทางด้านอุตสหกรรมทำให้เกิดมลพิษต่างๆ

ข่าวการค้นพบโลมาชนิดนี้รายงานว่า มีผู้เห็นโลมาแยงซีเกียงครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกันยายน ปี2004 ก่อนหน้านั้นโลมาแยงซีเกียงตัวผู้ชื่อ “ชีชี” ที่สถาบันไฮโดรไบโอโลยี แห่งวูฮาน (Institute for Hydrobiology Wuhan) เลี้ยงไว้ตายลงเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2002
นอกจากการล่าสัตว์น้ำ อุตสหกรรมและการเดินเรือแล้วจุดสำคัญใหญ่อีกเรื่องคือการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำแยงซีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศครั้งใหญ่ จนทำให้เป็นการซ้ำเติมจนเชื่อได้ว่า โลมาแยงซีเกียงได้สูญพันธุ์ไปแล้วจริงๆ

การค้นหาพวกมันครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2006 ด้วยความสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของจีน โดยนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากหลายองค์กร อาทิ สถาบันไฮโดรไบโอโลยี แห่งวูฮาน สถาบัน Swiss Federal Institute of Aquatic Science and Technology (Eawag) องค์กร National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) สถาบัน Hubbs-Seaworld Institute ซานดิเอโก และกรมประมงของญี่ปุ่น
โดยใช้เครื่องมือตรวจฟังเสียงของโลมาไปตามแม่น้ำแยงซีเกียง เริ่มต้นจากเมืองยิชางถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงและแล่นกลับมาด้วยระยะทางเกือบ 3,500 กิโลเมตร ในเวลา 6 สัปดาห์ แต่ผลที่ได้คือ ความสิ้นหวัง ไม่มีร่องรอยใดๆ จึงเป็นที่แน่ชัดและเชื่อได้ว่า โลมาชนิดนี้ได้สูญพันธ์ุไปแล้วจริงๆ
ในปี 2016 มีเพียงข่าวลือว่าพบสิ่งที่เชื่อว่าเป็นโลมาแยงซี เพราะผู้พบเห็นแค่เพียงสัตว์กระโดดเหนือน้ำและสะท้องแสงเป็นสีขาว ซึ่งชาวประมงมั่นใจว่านั้นคือโลมา เพราะมีสัตว์เพียงชนิดเดียวในแม่น้ำแยงซีที่กระโดดเหนือน้ำได้นั้นคือ โลมาแยงซีนั้นเอง แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีหลักฐานการค้นพบอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
เป็นอะไรที่น่าเสียใจ การที่มนุษย์พัฒนาสิ่งต่างๆในชีวิตกับต้องแลกด้วยมากับการที่อีกหลายสายพันธ์ุต้องหายไปจากโลกใบนี้ แต่ที่ยิ่งตกใจก็คือในปี 2000+ ยังมีข่าวการสูญพันธ์ุของสัตว์บนโลกนี้เกิดขึ้นอีกทั้งที่ ความรู้และวิทยาการมนุษย์มาไกลพอสมควรต่างจากในยุค 1900+ ที่มนุษย์เรายังไม่มีความรู้และตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติสักเท่าไร
ขอขอบคุณ