เมื่อโลกไม่ได้มีแค่ “มนุษย์ค้างคาว” กับ “มนุษย์ไก่โห่”
ผู้ใหญ่มักมีคำพูดว่า กลางคืนไม่นอน นอนกลางวัน เป็น มนุษย์ค้างคาว หรือ ไม่ก็นอนแต่หัวค่ำ ตื่นก่อนไก่โห่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่เกี่ยวการนอน ซึ่งเป็นผลการจำแนกพฤติกรรมการนอน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของนักจิตวิทยาชื่อ อีมิล เครเพลีน
โดย อีมิล เครเพลีน นั้นจำแนกออกมาเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ “มนุษย์ค้างคาว” จะชอบใช้ชีวิตเวลากลางคืน ทำงานเวลากลางคืน หรือใช้ชีวิตประจำวันเวลากลางคืน แล้วก็จะพักผ่อนนอนเวลากลางวัน ส่วนอีกประเภทคือ “มนุษย์ไก่โห่” จะเริ่มนอนตั้งแต่หัวค่ำหรือเวลาเมื่อพระอาทิตย์ตกดินแล้วตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งการจำแนกแบบเดิมนี้ก็ถูกใช้มาจนถึงยุคปัจจุบัน

แต่ล่าสุดเมื่อ ทีมนักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาจากรัสเซียและเบลเยียม ร่วมกันตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร “บุคลิกภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล” (Personality and Individual Preferences) โดยใช้อาสาสมัครจำนวน 1,305 คนรวมตอบคำถามและให้ข้อมูลเกี่ยวการนอน ผลที่ได้ระบุว่าความเป็นจริงแล้วมนุษย์เรายังมีพฤติกรรมการนอนที่อยู่ระหว่างสองแบบนี้คือ “มนุษย์ยามบ่าย” (Afternoon type) และ “นักงีบหลับ” (Nappers)
โดย “มนุษย์ยามบ่าย” (Afternoon type) จะรู้สึกง่วงช่วงเช้า กับช่วงเย็นถึงหัวค่ำ แต่จะ active อยากทำงานในช่วงหลังเที่ยงยามบ่าย ส่วน “นักงีบหลับ” จะรู้สึกง่วงในช่วงประมาณ 11.00 – 15.00 น. ของแต่ละวัน และจะ active ทำงานดีในช่วงเช้าและค่ำ
ซึ่งผลการจำแนกนี้ยังใช้กลุ่มตัวอย่างยังไม่มากพอที่จะสรุปการจำแนกการนอนได้ทั้งหมด อาจจะต้องสำรวจและทดลองต่อไป โดยส่วนตัวผมคิดว่าหลังจากช่วงยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม ที่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานที่แน่นอนทำให้ พฤติกรรมการนอนของมนุษย์เริ่มเปลี่ยนไปตามรูปแบบการทำงานของแต่ละอาชีพ ทำให้มีรูปแบบการนอนที่เพิ่มมากขึ้น แต่จากการสำรวจและทดลองยังไม่พบ วิธีที่จะทำให้มนุษย์นอนแล้วตื่นขึ้นมา active และทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวันได้
ขอขอบคุณ