เมื่อตลาด crypto เป็นตลาดหมี

เมื่อตลาด crypto เข้าสู่ตลาดหมี ทุกอย่างดูเลวร้ายไปหมด คงต้องบอกว่าหลังจากที่ ตลาด crypto จบรอบของตลาดกระทิงที่เต็มไปด้วยความบ้าคลั่ง ที่ทำให้ราคาทุกๆเหรียญขึ้นสูงจนไร้สติ ทุกคนเข้ามาเกร็งกำไรกันอย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็น หมอ, วิศวกร, แม่บ้าน, เด็กปั๊ม ทุกอาชีพที่พอมีความรู้เพียงแค่ใช้ smart phone เป็นเล่น social เป็นก็ล้วนแต่เข้ามาในสนามเกร็งกำไรแห่งนี้ แต่ที่สำคัญคือมันเป็นตลาดระดับโลกที่มีนักเกร็งกำไรจากทั่วทุกมุมโลก จึงทำให้ฟองสบู่รอบนี้มีคนเจ็บตัวจำนวนมาก

และแล้วคำพูดที่ว่า bitcoin คือ ดอกทิวลิปก็กับมาอีกครั้ง ที่บอกว่า bitcoin เปรียบเสมือนเกร็งกำไร ดอกทิวลิปที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จากสมการที่ว่า 1BTC = 1BTC อาจจะมีความคล้ายกับ 1 ดอกทิวลิป = 1 ดอกทิวลิป ผมว่าสมการนี้ไม่เหมือนกันเลยนะครับ เพราะ ดอกทิปลิปสามารถสร้าง productivity ได้ด้วยการขยายพันธุ์ นำไปขายต่อได้ ก่อให้เกิดรายได้ แต่ดอกไม้ก็คือดอกไม้ ไม่คงทนสามารถร่วงโรย ได้เสมอ และมนุษย์ก็สามารถเพาะปลูกจนมีปริมาณที่ล้นตลาดได้ เกินความต้องการ หรือไม่ทำการเพาะปลูกจนขาดตลาดได้เช่นกัน แต่สำหรับ bitcoin นั้นตั้งอยู่บนความง่ายคือมีจำนวนจำกัดง่ายๆแค่นั้นเอง ซึ่งปริมาณ BTC ที่จะผลิตออกมานั้นจำเป็นไปตามสมการ คณิตศาสตร์ที่แน่นอนอยู่แล้ว ทำให้ bitcoin หมดปัญหาเรื่องมีจำนวนมากเกินไปล้นตลาด

แล้วแบบนี้ bitcoin มีจำนวนจำกัดถ้าตลาดมีความต้องการมากๆทำอย่างไร คำตอบก็คือ bitcoin สามารถแบ่งเป็นส่วนย่อยๆเล็กลงระดับจุดทศนิยมที่เรียกว่า Satoshi โดยที่ 1 Satoshi = 0.00000001 BTC

แล้ว bitcoin เกิดขึ้นมาจาก concept อะไร เกิดมาทำไม เกิดขึ้นเมื่อไร ?

แนวคิดการสร้าง bitcoin และสร้างขึ้นในช่วงปี 2009 สังเกตว่าจุดเริ่มต้นแนวคิดนี้เกิดขึ้นหลังวิกฤตซับไพรม์ ที่ปัญหาของวิกฤตเกิดจากหนี้คุณภาพต่ำจำนวนมากทำให้เกิดวิกฤต เดือดร้อนเป็นวงกว้าง จึงเกิดการเสนอแนวคิดของ bitcoin ขึ้นในกลุ่มคนเล็กว่า ถ้ามันจะดีหากเรามีเงินบน internet ที่ไม่สามารถพิมพ์เพิ่มขึ้นได้ เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดจาก มนุษย์ที่ชอบพิมพ์เงินเพื่มเมื่อเงินไม่พอใช้ เปรียบเสมือนเมื่อคนทั่วไปเงินไม่พอใช้ก็มักจะใช้บัตรเครดิต ซึ่งแนวคิดเศรษฐศาสตร์บนการสร้าง credit ขึ้นมานั้นเอง

bitcoin ถูกสร้างและนำเสนอแนวคิดจากบุคคลนิรนามที่มชื่อว่า satoshi nakamoto ที่ได้นำเสนอแนวคิดต่อกลุ่มชุมชนบนโลกอินเตอร์เน็ตที่ชื่นชอบเรื่องเทคโนโลยีและการเข้ารหัส โดยอาศัยหลักการ POW เพื่อขับเคลื่อนการทำงานของมันบนความรู้เก่าที่มีมานานแต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอย่าง block chain ด้วยหลักการเรื่องราวต่างๆ bitcoin ได้ผ่านช่วงเวลามาสักระยะจนมาถึงยุคสมัยปัจจุบัน เริ่มมีคนเห็นว่า bitcoin เปรียบเสมือนสิ่งแลกเปลี่ยนระหว่างเงิน fiat ที่ปริมาณขึ้นลงตามการบริหารของแต่ละประเทศกับ bitcoin ที่มีจำนวนเหรียญจำกัด จนได้เกิดวิวัฒนการทางการเงินครั้งใหญ่อีกครั้ง กลายมาเป็นตลาดคลิปโตที่มีคนมาหลอกเอาเงินจากคนโลภ โดยการขายฝันสร้างเหรียญจำนวนมาก จนสุดท้ายที่เกิดฟองสบู่และแตกไปหลายรอบและทุกครั้งก็จะทำให้เหรียญจำนวนมากถูกกวาดล้างหายไปเหลือเพียงเหรียญที่มีคอนเซ็ปและ project จริงๆที่พัฒนาต่อได้ จึงจะได้ไปต่อเท่านั้น

เมื่อตลาดแตกเข้าสู่ตลาดหมีทำให้มีคนโลภจำนวนมากต้องขาดทุน และมีคนที่ all in ไปถึงขั้นเกิดวิฤตในชีวิตก็มาก จนเกิดเป็นความเกลียดแค้น จำนวนมากและบ้างก็จบชีวิตลงหรือไม่ก็ทำผิดกฎหมายลักขโมย ด้วยยุคสมัยแห่งสังคม social จนทำให้ตลาดเมื่อมีข่าวดีก็ดีแบบบ้าคลั่ง และในมุมกลับเมื่อตลาดแย่ก็มีข่าวร้ายจนถึงขั้นโจมตีสาดเสียเทเสีย ด่าคนไปทั่วจนไม่มีสติ ทั้งที่ในโลกของทุนนิยม ไม่มีใครใจดีที่จะทำให้ทุกคนรวยได้กันหมดได้ ไม่เช่นนั้นโลกใบนี้คงสงบสุข มีแต่คนกินดีอยู่ดีกันหมด เพราะตลาดทุนก็เปรียบเสมือนสนามรบที่มีคนได้ก็ต้องมีคนเสียนั้นเอง

กลุ่มคนสายเทค เมื่อหุ้นเทคราคาสูงขึ้น 100 % ไม่ได้หมายความว่าความฉลาดของพนักงานกลุ่มเทคจะฉลาดเพิ่มขึ้น 100 % และในมุมกลับกันเมื่อราคาหุ้นเทคลงมา 80-90 % ก็ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มคนในวงการเทคจะโง่ลง 80-90 % เหมือนกัน

บางที่ก็แปลกใจเหมือนกันเมื่อตอนวิกฤตโควิด พนักงานกลุ่ม tech เรียกได้ว่ากระทบน้อยสุด แต่พอเกิดการ crash ของตลาดทุนกับเป็นพนักงานใน sector โดยผลกระทบเป็นจำนวนมาก นั้นอาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า การทำ product ในกลุ่ม tech มีความเปราะบางในเรื่องเงินทุนมาก หากเงินทุนไม่ต่อเนื่องทุกอย่างก็จบ เพราะฉะนั้น คนในวงการ tech คงต้องกลับมาตั้งคำถามแล้วว่าจะทำยังไงให้ product มี income ที่มั่นคงมากพอ

ขอขอบคุณ

ภาพถ่ายโดย Rasmus Svinding จาก Pexels

Leave a Reply

Your email address will not be published.