อะไรคือสิ่งที่แยกระหว่าง นักสร้างสรรค์ระดับโลกและคนธรรมดาทั่วไป
วันก่อนผมบังเอิญเปิดไปดู TED Talks อยู่อันหนึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยการ เอาไว้ก่อนค่อยทำที่หลัง หรือเอาไว้ก่อนค่อยทำก็ได้ ถ้าในสำนวนไทยก็ ผลัดวันประกันพรุ่ง
จะมีส่วนทำให้เราสามารถคิด idea ใหม่ๆหรือหาวิธีการแก้ปัญหากับงานที่เราทำประจำแล้วคิดไม่ออกหรืองานที่เราทำมันประจำแต่ก็ไม่ไปไหนซักที โดย TED Talks นี้มีชื่อว่า the surprising habit of the original thinker ของ Adam grant
Adam grant เป็นศาสตราจารย์สอนที่โรงเรียนธุรกิจอยู่ที่ Wharton School of the University of Pennsylvania มีผลงานการเขียนหนังสือชื่อดังอยู่ 2 เล่มเท่าที่รู้คือ Originals กับ Give and Take (ชื่อแปลไทย แค่รู้วิธีให้ คนรับได้เท่าไหร่ คนให้ได้มากกว่า)

ใน talk นี้จะพูดถึงการที่เริ่มมีไอเดียอะไรใหม่ๆเราควรที่จะเริ่มทำมัน แต่หากว่าไอเดียนี้มีคนทำอยู่ได้ก็ อย่าได้ท้อใจไปเพราะเปอร์เซ็นของ product ที่ทำคนแรกมักจะมีอัตราความล้มเลวถึง 47 % ต่างจากคนที่มาที่หลังที่ทำ product คล้ายๆกันมีอัตราความล้มเหลวแค่ 8 % เท่านั้น ตัวอย่างเช่น Facebook ที่มาหลังจาก Myspace และ Friendster หรือจะเป็น Google ที่มาหลัง Altavista และ Yahoo ซึ่งการทำก่อนทำหลังมันไม่ได้บอกว่า idea ไหนจะประสบความสำเร็จมันอยู่ที่ว่า idea อันไหนมัน Unique เอกลักษณ์มากกว่ากัน
ซึ่งการผลัดวันประกันพรุ่งเป็นบางครั้งจะเหมาะสำหรับ project ระยะยาวที่บ้างครั้งเราทำมันทุกวันแต่ก็คิดไม่ออกหรือทำมันจนหมดไฟรู้สึกเบื่อ ลองทำงานค้างไว้แล้วผลัดมันไปเรื่อยๆ จนระยะหนึ่ง จะทำให้เรามีความรู้สึกอยากที่จะกลับมาทำมัน หรือใกล้ถึง dead line ส่งงานจะทำให้สมองของเราสามารถคิดอะไรออกมาอย่างง่ายด่าย ความรู้สึกเหมือนตอนทำ project เรียน มหาลัยตอนแรกๆยังไม่ถึงกำหนดส่งจะไม่มีความคิดหรืออยากจะทำมัน แต่พอใกล้ถึงกำหนดส่งไม่น่าเชื่อ ความคิดแปลกๆที่ไม่เคยคิดออกมาก่อน กลับทำให้เราคิดออกมาได้อย่างง่ายด่าย แต่ก็ใช่ว่าวิธีการนี้จะทำให้ได้ idea หรือมีที่การแก้ปัญหาที่ดีและละเอียดพอ แต่มันเป็นวิธีที่ช่วยให้เราดึงความสามารถในการคิดออกมาได้ในช่วงที่เราคิดไม่ออกจริงๆ
ส่วน Step ในการคิดสร้างสรรค์ก็หรือขั้นตอนการจัดการกับความคิดที่คนส่วนใหญ่ต้องเจอคือ

ช่วงที่ 1 เริ่มต้นความคิด จะมีความรู้ว่า idea นี้มันสุดยอดเจ๋งไปเลย
ช่วงที่ 2 จะเป็นช่วงที่เริ่มคิดรายละเอียดจะรู้สึกสับสน รู้สึกยุ่งยากจัง เริ่มมีความคิดที่ว่า idea นี้มันจะ work จริงหรอ
ช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่จะมีคนบางส่วนไม่ทำ idea ที่คิดไว้เพราะเมื่อรู้สึกยุ่งยากและสับสน ก็จะมีความคิดที่ว่า idea นี้มันแย่ไม่เอาแล้ว
ช่วงที่ 4 จะเป็นช่วงที่เราคิดหนักจาก idea เพื่อหาทางออกและพยายามจะทำ idea ที่คิดให้ได้ จนเริ่มสับสนอีกครั้งว่า idea มันห่วยหรือ เรากันแน่ที่มันห่วยไม่เอาไหน
ช่วงที่ 5 ช่วงนี้จะเป็นช่วยที่ผ่านความคิดที่ว่า idea มันอาจห่วยหรือ ตัวเองอาจจะไม่เอาไหนเอง แต่ก็ตั้งสติ ไหนลองทำๆไปก่อนละกัน มันก็ไม่มีอะไรแย่นิ เริ่มทำก่อนสำคัญกว่า
ช่วงที่ 6 ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ทำไปเริ่มออกแรงสร้าง idea ให้เป็ยจริงบ้างแล้ว ก็จะกลับมามีความรู้สึกเหมือนช่วงแรก คือ เฮ้ยมันเจ๋งดีว่า idea ของเราและจะเพิ่มความภูมิใจที่ได้ทำ idea นี้
ซึ่งทุกครั้งในการคิด idea อะไรใหม่ก็จะวนขั้นตอนความรู้สึกนี้เสมอๆ ซึ่งหาเรากำลังทำ project อะไรอยู่เป็นเวลานานๆ แล้วไม่ค่อยมีความรู้สึกแบบนี้ ให้ลองวางงานทิ้งงาน ผลัดวันไปก่อนสักพัก เพื่อให้ความกระหายที่อยากจะทำกลับมาอีกครั้ง เหมือนผลงานชิ้นเอกอย่างภาพวาดของ Leonardo da Vinci อย่าง Mona Lisa ยังใช้เวลาถึง 16 ปีกว่าจะสมบูรณ์แบบอย่างที่ได้เห็นในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ