ศึกษาไทยเน้น การแข่งขันไปสู่ระบบแพ้คัดออก

หากพูดถึงปัญหาที่สะสมมานานของประเทศ หนึ่งในปัญหาที่สะสมมานานก็คือการศึกษา เพราะหากย้อนกับไปในอดีต ระบบการศึกษาในประเทศไทย ไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้แตกต่างจากอดีต ซึ่งเกิดในช่วงยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมสักเท่าไร เพราะทุกวันนี้ ยังวนเวียนอยู่กับ ระบบการสอบแข่งขัน การท่องจำเนื้อหาซะส่วนใหญ่ แล้วถามว่าทำไมยังต้องท่องจำ เพราะ โดยส่วนใหญ่ข้อสอบในการวัดผล ยังออกแบบทดสอบให้ผู้สอบนั้นจดจำเนื้อหาซะส่วนใหญ่ โดยตลอดตั้งแต่การศึกษาเบื้องต้นจนจบหลักสูตร ข้อสอบก็ยังเป็นแบบถามเพื่อเน้นความจำ

เมื่อย้อนกลับไปกลับมา ฝั่งผู้สอนก็จะบอกว่า เด็กจะทำข้อสอบแบบใช้ความคิดไม่ค่อยได้ เลยต้องออกข้อสอบแบบท่องจำ นั้นก็วนกลับมาที่เดิม หากเพียงเพื่อออกแบบทดสอบให้เด็กส่วนใหญ่สามารถทำได้แล้วสอบผ่านไป แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรกับระบบการศึกษา และก็ยังไม่เริ่มให้เด็กเริ่มใช้ความคิด วิเคราะห์มากกว่าการจดจำ นี้ยังไม่รวมเนื้อหาในแต่ละวิชาที่มักจะปรับปรุงเรื่องหาช้ากว่า ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอีกด้วย

และแน่นอน เมื่อการศึกษาของประเทศยังวนอยู่แบบนี้ การสอบจึงเป็นเสมือนจุดที่เด่นชัดในการบ่งบอกปัญหาทั้งหมด เลยทำให้เกิดการแข่งขันในการสอบสูงมาก ซึ่งการสอบมีระบบคะแนนเป็นพื้นฐานในการวัด แต่ความสามารถของมนุษย์เรานั้นแตกต่างกันออกไปแต่ละบุคคล ไม่อาจเทียบกันได้เพียงแค่ใช้แบบทดสอบที่เหมือนกัน

เมื่อคะแนนสอบออกมา เด็กจำนวนหนึ่งก็จะทำคะแนนไม่ค่อยดีนัก เพิ่งเพราะความถนัดในเรื่องๆนั้น เด็กไม่ถนัด แต่ก็จะมีเด็กจำนวนหนึ่งที่ได้คะแนนสูงอันทำให้ ผู้เป็นพ่อ แม่ ดีใจเกินไป จนทำให้เกิดความแตกต่างเกิดขึ้นในเด็ก 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่ถนัดแล้วได้คะแนนน้อย กับกลุ่มเด็กที่ถนัดแล้วได้คะแนนสูง แต่สังคมโดยรอบกับตัดสินแบ่งแยกชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ได้รับการพัฒนาจนสามารถทำงานหลายๆอย่างแทนมนุษย์เราได้แล้ว การที่เด็กกลุ่มที่ได้คะแนนสอบประเภทการท่องจำคะแนนสูง จะเป็นประโยชน์อะไร หาก AI ก็สามารถท่องจำและดีไม่ดีสามารถทำคะแนนได้มากกว่า เพราะฉะนั้นคงถึงจุดที่การศึกษาของประเทศควรได้รับการเปลี่ยนแปลงได้แล้ว

งานนี้ทาง TEP Forum ได้จัดงาน เวทีภาคีเพื่อการศึกษาไทย ณ ห้องประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ระหว่างวันที่ 8 – 9 มิ.ย. 62

ขอขอบคุณ ThaiPBS

Leave a Reply

Your email address will not be published.