ที่มาของ ตลาดกิมหยง
หากใครที่มาท่องเที่ยวที่ อ.หาดใหญ่แล้ว จุดแวะซื้อของฝากที่พลาดไม่ได้ก็คือ ตลาดกิมหยง เพราะจะเป็นตลาดที่รวมเอาของกินเกือบทุกอย่างที่มีการขนส่งผ่านเส้นทางการค้าผ่าน อ.หาดใหญ่ไว้ และมีราคาถูก เพราะต้องยอมรับว่า ของกินเล่นส่วนใหญ่ ถูกนำเข้ามาผ่านพ่อค้ารายย่อยทำให้ ไม่เสียภาษี ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่จะมาจากประเทศทางการค้าในโซนนี้ คือ มาเล สิงค์โปร ออสเตรเลีย จีน และเกาหลี หรืออาจเรียกได้ว่าเส้นทางการค้าในทะเลจีนใต้นั้นเอง
โดยตลาดกิมหยงนั้นเดิมชื่อว่า ตลาดชีกิมหยง ตามชื่อของ นายชีกิมหยง เพราะเป็นเจ้าของที่ดินตลาด แต่เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีการเรียกให้ชื่อสั้นลงคือ ตลาดกิมหยงนั้นเอง ตั้งอยู่บนอาคารสองชั้น ริมถนนละม้ายสงเคราะห์ ชั้นบนเป็นร้านขายสินค้า ชั้นล่างเป็นตลาดขายของแห้ง เดิมอาคารแห่งนี้เคยเป็นโรงภาพยนตร์ ชื่อ โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย

นายชีกิมหยง เกิดที่บ้านเจาพู อำเภอเจียวหลิ่ง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชา-ชนจีน เป็นบุตรคนโตของนายซียิซาน (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่านขุนศุภสาร

ในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งให้มีการสร้างขยาย เส้นทางรถไฟสายใต้จากจังหวัดเพชรบุรีไปยังปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ตอนเหนือและเส้นทางแยกไปยังอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อีกเส้นหนึ่ง บิดาของท่านซีกิมหยง คือนายซียิซาน และนายชีจือถังเป็นผู้รับเหมาเส้นทางรถไฟสายใต้ โดยว่าจ้างบริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด เป็นผู้จัดสร้าง

ผมไม่แน่ใจว่า ฐานะเดิมของ นายชีกิมหยง ร่ำรวยอยู่แล้วหรือ เพิ่งขยันจนร่ำรวย แต่สิ่งสำคัญคือ นายชีกิมหยง มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใต้ โดยนายชีกิมหยง ได้ทำการซื้อที่ดินบริเวณ อ.หาดใหญ่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก เพราะมองว่าเป็นทำเลที่เหมาะสำหรับ เป็นจุดค้าขายระหว่างไทยและมาเล ทำให้บริเวณนี้ค่อยๆเติบโตจนกลายเป็น อ.หาดใหญ่ในปัจจุบัน เรียกได้ว่า ในยุคสมัยนั้นผู้คนได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน และค้าขายใน หาดใหญ่เป็นจำนวนมาก

หลังจากที่ นายชีกิมหยง ประสบความสำเร็จในการปลุกปั่นการค้าขายของเมืองหาดใหญ่จนเจริญแล้ว ก็ได้ทำการบริจาคที่ดินเป็นจำนวนมากโดยที่ดินที่บริจาคนั้นในปัจจุบันเป็นสถานที่ต่างๆเช่น โรงเรียนแสงทอง มูลนิธิซุนยัดเซ็น คริสตจักรหาดใหญ่ โรงเจกิ้วซื่ออำ และยังมอบที่ดินอีกหลายแปลเพื่อสร้างถนนหนทางอีก ๑๐ สาย
ขอขอบคุณ