ตำนาน “ขนมไหว้พระจันทร์” ขนมแห่งความสามัคคี
ขนมไหว้พระจันทร์หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Moon cake เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของชาวจีน ขนมนี้มีประวัติมายาวนาน ย้อนกลับไปในสมัยราชวงศ์หยวน เป็นราชวงศ์ที่ กุบไล ข่าน ผู้เป็นหลานชายของ เจงกิสข่าน ผู้ยิ่งใหญ่
ราชวงศ์หยวนนั้นถูกตั้งขึ้นในสมัย กุบไล ข่าน หลังจากที่ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินได้เกือบครึ่งโลก แต่ด้วยวัฒนธรรมการดำรงชีวิตแบบชาวมองโกลนั้น จึงทำให้การปกครองชาวจีนที่มีวัฒนธรรมการเป็นอยู่แบบชาวฮั่นเป็นไปได้ลำบาก จึงได้มีการแก้ปัญหาคือ ให้ ทหารมองโกล 1 คนรับผิดชอบชาวจีน 10-20 คนโดยประมาณ ทำหน้าที่ตรวจสอบความเคลื่อนไหว และควบคุมชาวจีน ไม่ให้เกิดการรวมตัวยากต่อการปกครองได้ และชาวจีนที่อยู่ในการดูแลของทหารมองโกลนั้นจะต้องดูแลอาหารการเป็นอยู่ของทหารมองโกลคนนั้นด้วย

แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ กุบไล ข่าน ราชวงศ์หยวนก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ จนสมัยช่วงท้ายของราชวงศ์หยวน ก็เกิดเรื่องเล่าของ ขนมไหว้พระจันทร์ขึ้น

เดิมที่แล้วชาวจีนนั้นมีประเพณีการไหว้ในช่วงเวลานี้อยู่แล้ว เพราะถือเป็นวันวันสารท ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง วันขึ้น 15 เดือน 8 ตามจันทรคติ ที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเห็นพระจันทร์ และยังมีตำนานเรื่องเล่าของ ฉางเอ๋อ ที่อยู่บนดวงจันทร์

ด้วยสถานการณ์ที่เหมาะสม และอยู่ในปลายราชวงศ์หยวนที่เกิดปัญหาแย่งชิงอำนาจกันของแต่ละเผ่าในมองโกล ชาวจีนจึงคิดกลอุบายทำขนมขนาดใหญ่พอดีที่มีไส้อยู่ด้านในเพื่อตบตา ทหารมองโกล เพื่อที่จะส่งสารไปยังญาติมิตรและเพื่อนคนรู้จัก เพราะด้วยมีทหารมองโกลจับตาดูอยู่ตลอดเวลา ชาวจีนไม่สามารถร่วมตัวประชุมกันได้ หลังจากเสร็จพิธีการไหว้พระจันทร์ กระดาษที่มีข้อความที่ซ่อนอยู่ในขนมก็ถูกเจอเมื่อแต่ละครอบครัวผ่าขนมกินกัน และด้วยช่วงเวลากลางคืนจึงทำให้ทหารมองโกลไม่ระวังตัว ถูกชาวบ้านที่มีจำนวนมากกว่าจับกุมและสังหาร จนชาวจีนได้ขับไล่ชาวมองโกลที่ยึดแผ่นดินจีนเป็นเวลานานได้สำเร็จ

ด้วยเหตุนี้ทุกวันขึ้น 15 เดือน 8 ตามจันทรคติของทุกปีนอกจากจะเป็นวันสารทที่ไหว้บรรพบุรุษและขอพรจากดวงจันทร์แล้วยังต้องมีขนมที่มีไส้หนากินกันในครอบครัว จนกลายมาเป็นขนมไหว้พระจันทร์ในปัจจุบัน
ด้วยเรื่องเล่าการกู้แผ่นดินคืนจากเผ่ามองโกลด้วยขนมนี้ จึงทำให้ขนมไหว้พระจันทร์กลายเป็นสัญลักษณ์ของความกลมเกลี้ยวและสามัคคีอีกด้วย
ขอขอบคุณ